โครงการให้บริการที่ดีที่สุด
โครงการให้บริการที่ดีที่สุด หมายถึง โครงการที่หน่วยงานคิดค้น/พัฒนา/ปรับปรุงระบบการให้บริการให้มีความทันสมัย คล่องตัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนหรือผู้รับบริการ ภายใต้แนวคิดการยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยพิจารณาจากภารกิจ อำนาจหน้าที่ สภาพปัญหาในการปฏิบัติงาน ความต้องการของผู้รับบริการ หรือประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้รับบริการ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข/พัฒนาการให้บริการ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยนำแนวคิด/เทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการให้บริการที่ดีที่สุด
๑. กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy)
๒. เครื่องมือการสื่อสารการตลาด (Integrated Marketing Communication - IMC)
๓. การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยระบบ Lean Management
๔. เทคนิคการรื้อปรับระบบงาน (Reengineering)
๕. การออกแบบกระบวนการใหม่ (Process Redesign)
๖. การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management)
๗. กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-Driven Strategy)
๘. ทีมงานที่บริหารจัดการตนเอง (Self-Managing Teams)
๙. การใช้ตัวชี้วัดและการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Metrics and Appraisal)
๑๐.การจูงใจ (Incentive Systems)
๑๑.องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
๑๒.การให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ (e-Service)
การนำเครื่องมือไปใช้
หน่วยงานที่มีการนำเครื่องมือ/แนวคิด/เทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้ จะได้รับการพิจารณาให้เป็นโครงการให้บริการที่ดีที่สุดที่มีความโดดเด่น และได้รับรางวัลจากกรุงเทพมหานคร รวมทั้ง การนำเสนอผลงานเข้าประกวดเพื่อรับรางวัลจากหน่วยงานภายนอก เช่น รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการงานภาครัฐ รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนแก่หน่วยงานของรัฐ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
ความรู้เชิงทักษะที่ใช้ (Know – how on Trouble Shooting)
ความรู้เชิงทักษะสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการให้บริการที่ดีที่สุดของหน่วยงาน (นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักจัดการงานทั่วไป และตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบโครงการฯ)
๑. ทักษะในการระบุผู้รับบริการให้ชัดเจนว่าใครคือผู้รับบริการของหน่วยงานเราบ้าง ทั้งผู้รับบริการหลักและผู้รับบริการรอง (identify)
๒. การคิดเชิงระบบ (SYSTEMS THINKING)
๓. ทักษะในการระบุ/ค้นหา/วิเคราะห์สภาพปัญหาในการบริการ/ความต้องการของผู้รับบริการ
๔. ทักษะการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT ANALYSIS)
๕. ทักษะในการมองภาพแบบองค์รวม (Conceptual Thinking)
๖. ความคิดสร้างสรรค์
๗. การคิดนอกกรอบ
ความรู้เชิงทักษะของนักทรัพยากรบุคคล สำนักงาน ก.ก. ในฐานะที่ปรึกษาของหน่วยงาน
๑. ทักษะในการวิเคราะห์ลักษณะของผู้รับบริการของแต่ละหน่วยงาน
๒. การเป็นผู้เชี่ยวชาญในงาน (Administrative Expert)
๓. ทักษะในการเจรจาต่อรอง
๔. ทักษะในการวัดและประเมินผล
๕. ทักษะในการสอนงาน
๖. ทักษะในการรับฟังและการสื่อสาร
๗. ทักษะในการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
๘. ความคิดสร้างสรรค์
๙. การคิดนอกกรอบ
๑๐. ทักษะการสร้างแบรนด์จากภายใน (Internal Branding)
๑๑. การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
๑๒. การเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์ (Strategic Partner)